วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ความหมายของสังคมสงเคราะห์

แมรี่ ริชมอนด์
"สังคมสงเคราะห์เป็นศิลปะแห่งการให้ความช่วยเหลือและเป็นการใช้สามัญสำนึกในสถานการณ์ที่ไม่สามัญ"

" เป็นกระบวนการพัฒนาบุคลิกภาพของคน โดยการปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลด้วยกันและระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อมสังคม"
ความหมายนี้ได้รับอิทธิพลโดยตรงจากทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของ ซิกมันด์ ฟรอยด์


เบอร์ทา ซี. เรย์โนลด์
"งานสังคมสงเคราะห์เป็นงานที่ช่วยเหลือคนในการปรับตัวให้สอดคล้องกับครอบครัว กลุ่ม และชุมชน"


เฮอร์เบิร์ต เอช. สตรุป
"งานสังคมสงเคราะห์ คือ ศิลปะของการนำเอาทรัพยากรต่างๆ มาใช้เพื่อสนองความต้องการ โดยการนำเอาวิธีการทางวิทยาศาสตร์ของการช่วยเหลือ เพื่อให้คนช่วยตนเองได้"

โซเฟีย ที. บิวทริม
"งานสังคมสงเคราะห์คือวิชาชีพแห่งการให้ความช่วยเหลือ โดยมีจุดมุ่งหมายอยู่ที่การส่งเสริมสวัสดิภาพของมนุษย์ ผ่านการป้องกันและขจัดปัญหาความเดือดร้อนต่างๆให้หมดสิ้นไป รวมทั้งเกี่ยวข้องกับปัญหาในด้านชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์อย่างกว้างขวาง"


โรเบิร์ต ซี ครูซ
"งานที่พยายามให้ความช่วยเหลือผู้ซึ่งไม่สามารถช่วยตนเองในการดำรงชีวิตได้ และเป็นงานที่พยายามจะทำให้มนุษย์มีอิสระในตนเองให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ นั่นคือ สามารถช่วยตนเองได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่น"



ศ. คุณนวลนาฏ อมาตยกุล
" การสั้งคมสงเคราะห์หมายถึงวิชาชีพหนึ่งวิชาชีพ สังคมสงเคระาห์ถือกำเนิดขึ้นมาเพื่อช่วยมนุษย์ให้มีชีวิต และความเป็นอยู่อย่างสมศักด์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ และช่วยสังคมให้มีลักษณะเอื้ออำนวยให้มนุษย์เจริญงอกงาม สามารถเป็นพลังทางเศรษฐกิจและสังคม ให้แก่ประเทศชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ"


รศ. นันทนีย์ ไชยสุต
"การสังคมสงเคราะห์หมายถึง การจัดให้มีมาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนเป็นรายบุคคล เป็นกลุ่มหรือทั้งชุมชน โดยใช้หลักทฤษฎีของการสังคมสงเคราะห์เป็นแนวปฏิบัติ ผู้ที่ปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ หรือที่เรียกว่า นักสังคมสงเคราะห์ จะต้องปฎิบัติงานนี้โดยใช้หลักวิชาชีพ หรือนัยหนึ่ง คือใช้หลักการ วิธีการ และกระบวนการของการสังคมสงเคราะห์ ไม่ใช่เพียงแต่หยิบยื่นสิ่งที่ผู้มีปัญหาต้องการก็เป็นอันว่าได้ให้บริการสังคมสงเคราะห์แล้ว"


ศ. ยุพา วงศ์ไชย
"การสังคมสงเคราะห์หมายถึง ศาสตร์และศิลป์ของการจัดหาบริการเพื่อช่วยส่งเสริมความสามารถของบุคคลให้สามารถปฎิบัติหน้าที่ของตน ที่มีอยู่ในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และดำรงชีพอยู่ได้อย่างเป็นสุข"


รศ. ดร. ศรีทับทิม พานิชพันธุ์
" สังคมสงเคราห์เป็นวิธีการที่ใช้เป็นเครื่องมือในการจัดบริการสังคมประเภทต่างๆ โดยตรงให้แก่บุคคล กลุ่ม และชุมชน ซึ่งประสบปัญหาความเดือดร้อนและอื่นๆ จนไม่สามารถช่วยตนเองได้ในระยะแรก จำเป็นต้องกาศัยการช่วยเหลือจากนักสังคมสงเคราะห์ซึ่งมีความรู้ ทัศนคติและประสบการณ์ หรือทักษะในงานสังคมสงเคราะห์เป็นอย่างดี โดยที่นักสังคมสงเคราะห์จะใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ใช้ความสามารถหรือศักยภาพของเขาเอง ข่วยให้เขาสามารถปฎิบัติหน้าที่ทางสังคมได้อย่างถูกต้องเหมาะสม สามารถปรับตัวเองให้เข้ากับสมาชิกครอบครัว กลุ่ม และชุมชน ตลอดจนสังคมได้ด้วยดี มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความมั่นคงปลอดภัย และเสถียรภาพที่ดี"

ผศ. ดร. ทัศนีย์ ลักขณาภิชนชัช
"การสังคมสงเคราะห์ เป็นการนำความรู้ความเข้าใจในศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์และสังคม เช่นพฤติกรรมศาสตร์ และสังคมศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการทำความเข้าใจกระจ่างชัดในปัญหาความเดือดร้อนของมนุษย์และสังคม ผนวกเข้ากับองค์ความรู้ในกระบวนการช่วยเหลือมนุษย์และสังคมด้วยระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ผสมผสานกับทัศนคติ หลักการและวัตถุประสงค์ของการให้ความช่วยเหลือ เพื่อให้มนุษย์ทั้งที่เป็นบุคคล กลุ่ม ชุมชน และสังคม สามารถช่วยเหลือและพึ่งตนเองได้ มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่สูงขึ้น"


คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนางานสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ ( 2530) ได้ให้ความหมายไว้ในแผนพัฒนาการสังคมสงเคราะห์แห่งชาติฉบับที่ 1 ว่า
" การสังคมสงเคราะห์ หมายถึง ศาสตร์และศิลป์ในการป้องกัน แก้ไข ฟื้นฟู และพัฒนาบุคคล กลุ่ม ชุมชน ทั้งทีประสบและไม่ประสบปัญหาความเดือดร้อน ให้สามารถช่วยเหลือตนเองและสังคมได้"




การวิสัชนาเรื่อง " ความหมายแท้จริงของการสังคมสงเคราะห์" ของพระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
"ตามศัพท์ (สังคมสงเคราะห์) แปลง่ายๆ ว่า การสงเคราะห์สังคม แต่ถ้าจะแปลให้ลึกกว่านั้น ก็มีความหมายทางธรรม สงเคราะห์ คำบาลีเป็น สงฺคห (สังคห) แปลว่า ประมวล รวบรวม จับมา รวมเข้าด้วยกัน ยึดเหนื่ยวจิตใจให้รวมกันเป็นหนึ่่ง ผูกใจกันไว้ สังคห ที่แปลว่า ยึดเข้าไว้ด้วยกันนั้น หมายถึง ยึดในแง่นามธรรมและยึดในแง่รูปธรรม ทางนามธรรม คือ ยึดเหนี่ยวผูกจิตใจให้รวมกันเป็นหนึ่ง ทางรูปธรรม คือ ให้คนมารวมกัน ประสานเข้าด้วยกัน
ดังนั้น ความมุ่งหมายของสังคมสงเคราะห์ จึงไม่ใช่เป็นเพียงเอาอะไรไปให้เขา ไม่ใช่เอาบริการไปให้ เอาทรัพย์สินเงินทองไปให้ แต่หมายถึงทำให้สังคมรวมใจกัน ผนึกยึดเหนี่ยวกันไว้ให้ได้ ถ้ามองในแง่นี้ หน้าที่ของเรา จึงไม่ใช่เป็นเพียงเอาอะไรไปหยิบยื่นให้"

"สังคห เป็นภาษาบาลี แต่เมื่อจะเอาเข้ามาในไทย เราเอารูปสันสกฤตซึ่งมีตัว "ร" คือ สังครห เข้ามา แล้วไทยก็แผลงเป็นสังเคราะห์บ้าง สงเคราะห์บ้าง ความจริงนั้น ทั้งสองคำนี้เป็นคำเดียวกัน แต่เราใช้สงเคราะห์ในความหมายหนึ่ง และสังเคราะห์ในอีกความหมายหนึ่ง ถ้าเราจะใช้ "สังคห" ให้ถูกต้องตามความหมายทางธรรม จะต้องก้าวไปให้ถึงขั้นนี้ คือ ทำให้รวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
คำว่า สังคห หรือ สงเคราะห์นี้ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ด้วยกันเป็ฯชุดเดียวกับคำอื่นอีกสามคำ เรียงลำดับเป็น สังคห อวิวาท สามัคคี และเอกีภาพ คือ ความยึดเหนี่ยวประสานกันไว้ ความไม่ทะเลาะวิวาท ความพร้อมเพรียง และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ที่เราใช้ว่า เอกภาพ เวลาแปลเป็นภาษาอังกฤษ ถ้าแปลอย่างเบื้องต้นก็ว่า help หรือ assistance แต่ถ้าจะแปลให้ลึกลงไปในสาระ ก็แปลกันตั้งแต่ sympathy จนถึง solidarity หรือ social integration"







จะเห็นได้ว่า ความหมายของคำว่า "สังคมสงเคราะห์" มีความเปลี่ยนแปลง และไม่เคยหยุดนี่ง แต่ความหมายที่น่าจะสอดคล้องกับสถานการณ์ของสังคมไทย และให้คุณค่า ที่สะท้อนปรัชญาการทำงานสังคมสงเคราะห์ตามแบบไทยได้ดีที่สุดก็น่าจะเป็นความหมายที่พระเทพเวที ได้ให้ไว้ โดยเน้นที่ว่า เป็นการทำงานอย่างครอบคลุมและกว้างขวาง และมิใช่เป็นการให้ความช่วยเหลือเพียงอย่างที่เคยยึดถือกันมา แต่ให้ความหมายของการสังคมสงเคราะห์ในแง่ของบูรณาการทางสังคม ซึ่งคือการทำให้สังคมรวมกันได้ ไม่ให้เกิดการแตกแยกแตกร้าวระหว่างคนในสังคม

3 ความคิดเห็น:

`เปเป้ซัง กล่าวว่า...

เยียมเลยครับ..

อยากเรียนคณะนี้จังครับ

ผมจะพยามเข้า คณะสงคมสงเคราะห์ให้ได้เลย

คอยดู

55 5 5 5

panupong kaitkamchonkul กล่าวว่า...

ตอนนี้เข้าได้ยังครับฮ่าๆ

Unknown กล่าวว่า...

จบแล้วครับ 555